Home การวิจัยทางการศึกษา

มาตรฐานการเรียนรู้ที่ 7 การวิจัยทางการศึกษา

ทฤษฎีการวิจัยทางการศึกษา
            1.วิธีการเสาะแสวงหาความรู้ (Methods of acquiring knowledge)

            2.วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) เป็น การเสาะแสวงหาความรู้เมื่อต้องการค้นคว้าหาความรู้ หรือแก้ปัญหาในเรื่องใดก็ต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นก่อน แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการสร้างสมมติฐาน ซึ่งเป็นการคาดคะเนคำตอบล่วงหน้า ต่อจากนั้นเป็นการตรวจสอบปรับปรุงสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล และการทดสอบสมมติฐาน และJohn Dewey ปรับปรุงให้ดีขึ้นแล้วให้ชื่อวิธีนี้ว่า การคิดแบบใคร่ครวญรอบคอบ (reflective thinking)

 

ประโยชน์ของการวิจัย
                1. ช่วยส่งเสริมความรู้ทางด้านวิชาการและศาสตร์สาขาต่างๆ ให้มีการค้นคว้าข้อเท็จจริงมากยิ่งขึ้น             

                2. นำความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติ หรือแก้ปัญหาโดยตรง ช่วยทำให้ผู้ปฏิบัติได้เลือกวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด
                3. ช่วยในการกำหนดนโยบาย หรือหลักปฏิบัติงานต่างๆ เป็นไปด้วยความถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
                4. ช่วยให้ค้นพบทฤษฎีและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ
                5. ช่วยพยากรณ์ผลภายหน้าของสถานการณ์ ปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่างๆได้อย่างถูกต้อง   

 

รูปแบบการวิจัย
1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย
                1. การวิจัยเชิงพยากรณ์ (Predictive research) เป็นการวิจัยเพื่อที่จะนำผลที่ได้นั้นไปใช้ทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต 
                2. การวิจัยเชิงวินิจฉัย (Diagnostic research) เป็น การวิจัยเพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในปัญหา เข้าใจในพฤติกรรม ตลอดจนเข้าใจในสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาอันจะเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือ 
                3. การวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (Explanatory research)  เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไร และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
2. แบ่งตามลักษณะการวิเคราะห์ข้อมูล
                1. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)    

                2. การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) 

3. แบ่งตามระเบียบวิธีวิจัย
                1. การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีต
                2. การวิจัยเชิงบรรยายหรือพรรณนา (Descriptive research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงในสภาพการณ์หรือภาวการณ์ของสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร               

                3. การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของปรากฏการณ์ต่างๆ


การออกแบบการวิจัย
                การ ออกแบบการวิจัย หมายถึง การเสนอวิธีการที่นำมาใช้ในการตอบปัญหาการวิจัยเพื่อให้ได้ คำตอบที่ตรงกับปัญหาการวิจัยและมีความน่าเชื่อถือ รวมทั้งเป็นการวางแผนการใช้ทรัพยากรในการวิจัยให้เกิดประสิทธิภาพ


วัตถุประสงค์ของการออกแบบวิจัยเพื่อจัดกระทำกับตัวแปร                                                                                               

เพื่อควบคุมความคลาดเคลื่อน     

เพื่อตอบปัญหาการวิจัย                                                                                              

เพื่อวางแผนการใช้ทรัพยากรทางการวิจัย

 

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบการวิจัย    
-  วัตถุประสงค์
สมมุติฐานและตัวแปรที่เกี่ยวข้อง                                                                                           
ข้อจำกัดการวิจัย

 

ความหมายของการวิจัย

                กระบวน การหาความรู้ความจริงใหม่ ที่มีระบบแบบแผนตามหลักวิชา อาศัยหลักเหตุผล ที่รอบคอบ รัดกุม ละเอียดและเชื่อถือได้ และความรู้ความจริงนั้นจะนำไปเป็นหลักการ ทฤษฎี หรือ ข้อปฏิบัติที่ทำให้มนุษย์ได้รับรู้และนำไปใช้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตด้วย ความสงบสุขหรือป้องกันและหลีกเลี่ยงภัยอันตรายต่าง ๆ ได้

 

กระบวนการการวิจัย
1.       เลือกหัวข้อและกำหนดขอบเขตปัญหาการวิจัย
2.       การทบทวนวรรณกรรม การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.       การออกแบบการวิจัย
4.       การเขียนเค้าโครงการวิจัย
5.       การสร้างเครื่องมือและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
6.       การเก็บรวบรวมข้อมูล
7.       การแปรผลและวิเคราะห์ข้อมูล
8.       การเขียนรายงานการวิจัย


วิธีการรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้ในการวิจัยทางการศึกษา                                                   1. การใช้แบบทดสอบ

2. การใช้แบบวัดเจตคติ 

3. การใช้แบบสอบถาม

4. การสัมภาษณ์                                                                                                                  

5. การสังเกต                                                                                                                      

6. การใช้เทคนิคสังคมมิติ                                                                                                      

7. การทดลอง

 

สถิติเพื่อการวิจัย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ          

                1.สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) หมายถึง การบรรยายลักษณะของข้อมูล (Data) ที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมจากประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่สนใจ
                2.สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) หมาย ถึง สถิติที่ว่าด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาจากกลุ่มตัวอย่าง เพื่ออธิบายสรุปลักษณะบางประการของประชากร โดยมีการนำทฤษฎีความน่าจะเป็นมาประยุกต์ใช้                        

                ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลหรือตัวเลขที่แสดงคุณสมบัติที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา เช่น อายุ รายได้ ยอดขาย เป็นต้น

 

กระบวนการทางสถิติ
                1. การวางแผน (Planning)  ในขั้นตอนนี้ต้องกำหนดว่าจะกำหนดวิธีการสำรวจอย่างไรจะใช้อะไรเป็นข้อมูล ประกอบการพิจารณาบ้าง ถ้ามีข้อมูลเกี่ยวกับคนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ก็ต้องกำหนดว่าจะกำหนดให้ผู้คนประเภทใดบ้างที่จะไปสอบถามรายละเอียด จะใช้จำนวนเท่าใดจึงจะพอดีที่จะต้องใช้ในขั้นตอนนี้ทั้งหมด รวมถึงวิธีการรวบรวมข้อมูล และกำหนดวิธีการทดสอบข้อมูลด้วย
                2. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of Data) เมื่อกำหนดในขั้นตอนที่ 1 แล้วว่าจะนำอะไรมาเป็นข้อมูลก็จะทำการรวบรวมตามวิธีทางสถิติซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
                3.  การนำเสนอข้อมูล (Presentation of Data) เมื่อรวบรวมได้แล้วก็จะนำมาแสดงให้คนเข้าใจ ซึ่งอาจจะแสดงในรูปตารางสถิติ เป็นรูปภาพ หรือเป็นแบบเส้นโค้ง ฯลฯ
                4. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) เมื่อ ได้ข้อมูลตามต้องการแล้วก็จะนำมาวิเคราะห์ ซึ่งอาจอยู่ในรูป ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสัดส่วน หรือค่าใด ๆ ตามแต่จะกำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1
                5.  การตีความ (Interpretation of Data) เป็นขั้นตอนสุดท้าย คือ การสรุปผลการวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 4 รวมถึงการนำเอาผลที่ได้ไปอ้างอิงใช้กับส่วนอื่นด้วย

 

การวิจัยในชั้นเรียน
ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน
                การ วิจัยในชั้นเรียนมีความสำคัญต่อวงการวิชาชีพครูเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากครูจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตร วิธีการเรียนการสอน การจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียน การพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียน การเพิ่มสัมฤทธิผลการเรียน และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ความหมายของการวิจัยในชั้นเรียน
                การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research) หมายถึงการสืบสอบเชิงธรรมชาติ (Natural Inquiry) จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน การเรียนรู้หรือพฤติกรรมผู้เรียนโดยที่ครูเป็นผู้วิจัยในสิ่งที่ครูปฏิบัติ อยู่ มีผู้เรียน ผู้บริหารหรือ ครูในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการวิจัยด้วย                 

                การ วิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นการสืบสอบเชิงธรรมชาติที่ต้องใช้ความคิดวิเคราะห์ ที่ละเอียดถี่ถ้วนขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระของวิชา การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน มีจุดเน้นที่หลากหลายเชื่อมโยงกัน และเป็นรูปธรรม


ลักษณะสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน
                1ครูเป็นผู้วิจัยเอง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่วงการวิชาชีพครู
                2ผลการวิจัยสามารถแก้ปัญหาผู้เรียนได้ทันเวลา และตรงจุด
                3การวิจัยช่วยเชื่อมช่องว่างระหว่างทฤษฏีและการปฏิบัติ
                4การเพิ่มศักยภาพการคิดสะท้อน (Reflective Thinking) ของครูต่อปัญหาที่เกิดในห้องเรียน
                5การเพิ่มพลังความเป็นครูในวงการการศึกษา
                6การเปิดโอกาสให้ครูก้าวหน้าทางวิชาการ
                7การพัฒนา และทดสอบการแก้ปัญหาในชั้นเรียน
                8การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเรื่องการเรียนการสอน และทางแก้ปัญหา
                9การนำเสนอข้อค้นพบและการรับฟังข้อเสนอแนะจากกลุ่มครู
                10การวิจัยและพัฒนาเป็นวงจร (Cycle) เพื่อทำให้ข้อค้นพบสมบูรณ์ขึ้น


การดำเนินการวิจัย
การเริ่มต้นการวิจัย
                1. กำหนดหัวข้อของการวิจัย ขอบเขตหัวข้อที่สนใจแบ่งเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
                                1.1 ด้านผู้เรียน ขอบเขตที่ค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับผู้เรียนแยกเป็นด้านย่อยๆ อีกได้คือ
                                - เรื่องการเรียน                               

                                - เรื่องพฤติกรรมผู้เรียน                               

                                1.2 ด้านวิธีการสอน ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสอน                               

                                1.3 ด้าน ผู้สอน อาจารย์อาจสนใจว่าผู้เรียนต้องการการสอนที่มีคุณลักษณะอย่างไร ผู้เรียนต้องการให้ผู้สอนปฏิบัติต่อผู้เรียนอย่างไร พฤติกรรมแบบใดของอาจารย์ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด อาจารย์ผู้สอนดีเด่นต้องมีพฤติกรรมอย่างไร ผู้เรียนชอบให้ผู้สอนปฏิบัติต่อผู้เรียนอย่างไรผู้เรียนต้องการให้ผู้สอน ดูแลอย่างไรนอกชั้นเรียน
                                1.4 ด้าน แหล่งเรียนรู้ วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการต่างๆ สำหรับด้านนี้ อาจารย์ควรมีคำถามปัญหา หรือข้อที่อาจารย์อยากทราบว่าแหล่งเรียนรู้ประเภทใดที่กระตุ้นความสนใจของ ผู้เรียน               

                2. การฝึกสังเกตและบันทึก
                ผู้ เริ่มวิจัย ต้องฝึกฝนการสังเกต และการจดบันทึกโดยเริ่มจากเหตุการณ์ประจำวันในชั้นเรียนผู้วิจัยฝึกการจด ง่ายๆทุกวันหลักจากเลิกการสอน ครูควรฝึกการสังเกต และจดบันทึกสิ่งที่สังเกตได้ทุกวัน เพื่อให้เคยชินกับการมองสถานการณ์หรือผู้เรียนอย่างวิเคราะห์ทุกครั้งที่จด เหตุการณ์ ต้องพยายามคิดสะท้อน เพื่อหาเหตุผล หรือวิธีการตลอดจนทฤษฏีทางการศึกษา

                3. วางแผนการทำวิจัย
                หลัง จากการฝึกสังเกต จดบันทึกข้อมูลได้ระยะหนึ่งผู้วิจัยจะค่อยๆ เคยชินกับการวิเคราะห์ และการเขียนจนแน่ใจว่าอาจารย์สนใจจริงในเรื่องที่อาจารย์มักจะสังเกตและจด บันทึกเรื่องได้มากว่าเรื่องอื่นอาจารย์คงคิดว่าสิ่งที่อาจารย์จะทำนั้นเป็น แนวคิดใหม่ที่ตอบคำถามของอาจารย์หรือเปล่า และจะพัฒนาไปอย่างไร
                4. การดำเนินการวิจัย
                การ ดำเนินการวิจัย ผู้วิจัย จะต้องพิจารณาว่าจะเก็บข้อมูลประเภทใด จึงตอบคำถามการวิจัยที่กำหนดไว้ได้แหล่งข้อมูลมาจากไหน จะได้กรอบคำถามอย่างไรจึงช่วยให้คิดวิเคราะห์ได้ถูกต้อง               

                5. การเขียนข้อค้นพบ
                หาก เป็นการเพิ่มพูนข้อคิดเห็น ความรู้ที่ประมวลได้ จากปฏิบัติการของอาจารย์ก็อาจเขียนในรูปของการอธิบายปรากฏการณ์ตามแผนการ วิจัยของอาจารย์
                6. การสะท้อนความคิด
                ความคิดที่ได้อาจเป็นการนำเสนอหลักการใหม่ทางการศึกษา ดังนั้นท่านจะต้องฝึกฝนการสะท้อนความคิดให้ชัดเจนในผลงานของท่าน
                7. การขยายผลการวิจัยสู่ชุมชนนักปฏิบัติ
                โรงเรียน หรือกลุ่มโรงเรียนจะต้องจัดเวทีให้อาจารย์ได้เสนอผลการวิจัย และช่วยให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้อาจารย์ได้พัฒนาข้อค้นพบให้ดีขึ้น
                8. การศึกษากรณีตัวอย่าง
                การวิจัยในชั้นเรียนของอาจารย์โดยวิธีการศึกษากรณีตัวอย่างได้มาจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนซึ่งการเก็บเรื่องราวเป็นลักษณะ                 

                9. การแก้ไขปัญหาในชั้นเรียน
                อาจารย์ผู้สอนอาจจะคิดหาวิธีการตามที่ครูเห็นว่าเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ธรรมชาติของวิชาที่สอน และปัญหาที่เกิดขึ้น

 

เทคนิคการนำเสนอผลงานวิจัย
                1.  เทคนิคการนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมทางวิชาการ แบ่งเป็น 2 แบบคือ                

                                1.1 การนำเสนอโปสเตอร์ (Poster Presentation)  โปสเตอร์เป็นสื่อประเภทไม่มีการเคลื่อนไหว สำหรับการนำเสนอ ‘สาร’ 
                                1.2 การนำเสนอด้วยวาจา (Oral Presentation) โดยทั่วไป การเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา นักวิจัยมีเวลาประมาณ 15-20 นาที ในการนำเสนอสาระสรุปของผลงานวิจัย และมีเวลา 10-15 นาฑี สำหรับการซักถามและให้ข้อเสนอแนะ

                2.  เทคนิคการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปบทความวิจัยพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 6 ส่วน ดังนี้
                                2.1 บทคัดย่อ (Abstract)                  

                                2.2 ส่วนนำ (Introduction                

                                2.3 วิธีการ (Methods)                  

                                2.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Results)                 

                                2.5 การอภิปรายและ/หรือการสรุป (Discussion and/or Conclusion)                 

                                2.6 ส่วนอ้างอิงและผนวก (References and Appendix) 

 

กระบวนการในการแก้ปัญหา
                1.  การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา 
                2. การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี
                3. การดำเนินการแก้ปัญหา
                4. การตรวจสอบและปรับปรุง
             
การจัดโครงการเพื่อทำวิจัย

                ส่วนประกอบ ของโครงการวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติ ( แบบ ว.)
1. ชื่อโครงการ

2. ประเภทของงานวิจัย

3. สาขาวิจัยที่ทำการวิจัย 

4. คณะผู้ดำเนินงานวิจัย

5. สถานที่ทำการทดลองและ/หรือเก็บข้อมูล

6. ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย

7. วัตถุประสงค์ของโครงการ

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

9. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

10. เอกสารอ้างอิง

11. วิธีวิจัย

12. ขอบเขตของการวิจัย

13. ระยะเวลาทำการวิจัย ... ปี 

14. แผนการดำเนินงานตลอดโครงการ

15. อุปกรณ์ในการวิจัย
                ก. อุปกรณ์ที่จำเป็นในการวิจัย
                ข. อุปกรณ์การวิจัยที่มีอยู่แล้ว

16. งบประมาณที่ใช้ตลอดโครงการ (ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย และวัสดุ)

17. คำชี้แจงเพิ่มเติม (ถ้ามี)

  ลงชื่อ..............................หัวหน้าโครงการ

 

 
Who's Online
เรามี 2 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
สถิติการเข้าชมเว็บ
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 260581
ชอบเรียนวิชาอะไรมากที่สุด
สำรวจความนิยม