Home การจัดการเรียนรู้

มาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนรู้

"ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน"

 ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ

1.ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือแบบสิ่งเร้า

2.ทฤษฎีปัญญาทางสังคม (Social Cognitive Theory)

3.กระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกต ประกอบด้วยกระบวนการ 4 ประการ คือ

                3.1 กระบวนการใส่ใจ (Attention processes) เป็นกระบวนการที่มนุษย์ใส่ใจและสนใจรับรู้พฤติกรรมของตัวแบบ การเรียนรู้โดยการสังเกต จะเกิดขึ้นได้มากก็ต่อเมื่อบุคคลใส่ใจต่อพฤติกรรมของตัวแบบ แต่การจะใส่ใจได้มากน้อยเพียงไรขึ้น อยู่กับปัจจัยหลัก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยเกี่ยวกับตัวแบบ และปัจจัยเกี่ยวกับผู้สังเกต

                3.2 กระบวนการเก็บจำ (Retention processes)   เป็นขั้นที่ผู้สังเกตบันทึกสิ่งที่ตนสังเกตจากตัวแบบไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว ซึ่งอาจจะ เก็บจำในรูปของภาพ หรือคำพูดก็ได้ แบนดูราพบว่า ผู้สังเกตที่สามารถอธิบายพฤติกรรมของตัวแบบ ออกมาเป็นคำพูด หรือสามารถมีภาพของสิ่งที่ตนสังเกตไว้ในใจจะเป็นผู้ที่สามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้โดย การ สังเกตได้ดีกว่าผู้ที่เพียงแต่ดูเฉย ๆ หรือทำงานอื่นในขณะที่ดูตัวแบบไปด้วย สรุปแล้วผู้สังเกตที่สามารถระลึกถึงสิ่งที่สังเกตเป็นภาพพจน์ในใจ (Visual Imagery) และสามารถเข้ารหัสด้วยคำพูด หรือถ้อยคำ (Verbal Coding) จะ เป็นผู้ที่สามารถแสดงพฤติกรรมเลียนแบบจากตัวแบบได้แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนาน และนอกจากนี้ถ้าผู้สังเกตมีโอกาสที่จะได้เห็นตัวแบบแสดงสิ่งที่จะต้องเรียน รู้ซ้ำก็จะเป็น การช่วยความจำให้ดียิ่งขึ้น

                3.3 กระบวนการกระทำ (Production processes) เป็น กระบวนการที่ผู้สังเกตเอาสิ่งที่เก็บจำมาแปลงเป็นการกระทำ ปัจจัยที่สำคัญของกระบวนการนี้คือ ความพร้อมทางด้านร่างกายและทักษะที่จำเป็นจะต้องใช้ในการเลียนแบบของผู้ สังเกต ถ้าผู้สังเกตไม่มีความพร้อมก็ไม่สามารถที่จะแสดงพฤติกรรมเลียนแบบได้        

                3.4 กระบวนการจูงใจ (Motivation processes) ตามที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อแนวคิดพื้นฐานข้อที่ 2 คือ    แบนดูราแยกความแตกต่างระหว่าง การเรียนรู้ (Learning ) ออกจาก การกระทำ (Performance) 

 ขั้นตอนของการเรียนรู้ด้วยตนเอง       

1. วิเคราะห์และกำหนดความต้องการในการเรียนรู้ 

2. กำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้

3. กำหนดแหล่งวิทยาการเพื่อการเรียนรู้ 

4. เลือกวิธีการเรียนและกิจกรรมการเรียนรู้  

5. รวบรวมข้อมูล/วิเคราะห์/สร้างองค์ความรู้

6. ประเมินผลการเรียนรู้

 การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

 เป็น การเรียนรู้ที่เกิดจากกระบวนการกลุ่มที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียน รู้ตลอดเวลา เช่น การระดมพลังสมอง การทำเวทีประชาคม การอภิปราย การแสดงบทบาทสมมติ ฯลฯ ลักษณะของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผู้เรียนมีการเรียนเป็นกลุ่ม ใช้คำถามและเทคนิคต่าง ๆ เป็นสื่อให้คิด ให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมและสร้างผลงานของตนเอง และผลงานนั้นมุ่งเน้นกับ การเชื่อมโยงกับชีวิตจริง 

 องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม มี 4 ประการคือ 

1. ประสบการณ์ เป็นการนำประสบการณ์เดิมมาพัฒนาเป็นองค์ความรู้
2. สะท้อนความคิดและอภิปราย เป็นการแลกเปลี่ยนความคิด เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
3. สรุปความเข้าใจและเกิดความคิดรวบยอด  นำไปสู่การเกิดความคิดรวบยอดในการเรียนรู้
4. ประยุกต์แนวคิด เป็นการนำผลจากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้

  ทฤษฎีการสอนแบบ Constructionism 

 การสอนแบบ Constructionism คือการสร้างโอกาสให้แก่เด็กที่จะเรียนรู้เอง โดยให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้ที่ดีไม่ได้เกิดจากวิธีการสอนที่ดีขึ้น แต่เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีโอกาสในการสร้าง องค์ความรู้ขึ้นเอง ใน การเรียนรู้จากการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผู้สอนจะทำหน้าที่จัดสภาพการณ์ หรือสร้างเงื่อนไขให้ผู้เรียนคิด แก้ปัญหาอย่าง ต่อเนื่องในระดับที่ยุ่งยากและซับซ้อนขึ้น ซึ่งสามารถนำ สิ่งที่อยู่รอบๆตัวมาจัดสถานการณ์ให้เกิดการแก้ปัญหา ใช้ความคิดอย่าง ต่อเนื่องได้ เช่น วัสดุทางศิลปะ ได้แก่ กระดาษ แผ่นกระดาน ดินเหนียว ไม้ เศษเหล็ก ทราย พลาสติก วัสดุเหลือใช้ ตลอดจน คอมพิวเตอร์ และชุด Lego 

 

 การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้

 บูรณาการ หมายถึง การรวมวิชาต่างๆเข้าด้วยกันเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่แยกเนื้อหาตามศาสตร์ของสาขานั้นๆ แต่ใช้แทนการเน้นการเป็นศูนย์กลางของการจัด การบูรณาการนี้จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับของสิ่งต่างๆ รอบตัวมากกว่าเรียนวิชาเดียว

       รูปแบบการบูรณาการ

ประเภทที่ 1 การบูรณาการเนื้อหาและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง 

ประเภทที่ 2 การบูรณาการระหว่างวิชา

ประเภทที่ 3 บูรณาการ หลักสูตร

       วิธีการบูรณาการ

 การดำเนินการเพื่อการบูรณาการไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนการสอนหรือหลักสูตรฟอการ์ตี (Fogarty, 1991) ได้แนะนำวิธีการบูรณาการเนื้อหาวิชาตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไปว่าควรประกอบด้วยวิธีการบูรณาการ 4 วิธี คือ

1. บูรณาการความต่อเนื่องของเนื้อหาวิชา หมายถึง ในการจัดการเรียนการสอนของครูแต่ละหัวข้อเรื่อง ครูต้องจัดเรียงหัวข้อเรื่องหรือ หน่วยที่สอนเกี่ยวข้องกันมาสอนในเวลาเดียวกัน แล้วลำดับเรื่องจากง่ายไปยาก จากใหญ่ไปย่อยโดยให้เกิดความต่อเนื่อง เข่น ครูสอนเรื่อง สัตว์เลี้ยง ควรต่อจากเรื่องปศุสัตว์ เป็นต้น

2.  บูรณาการระหว่างวิชา หมายถึง การจัดระเบียบการสอนมโนทัศน์ หรือเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนกันใหม่ ด้วยการร่วมมือกันเป็นทีมระหว่างครูผู้สอน เพื่อลดหรือย้ายเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนออกให้มากที่สุด เพื่อลดความซ้ำซ้อนนี้ ควรใช้วิชาที่เกี่ยวข้องกันประสานกัน เช่น วิชาสุขศึกษา การงาน พลศึกษา ร่วมบูรณาการกันเป็นทีมได้

3. การบูรณาการโดยสร้างข่ายใยแมงมุม หลักสูตร ข่ายในแมงมุมหลักสูตรจะเป็นภาพทัศน์แสดงให้เห็นกระบวนการบูรณาการการเรียน รู้ต่างๆ กับเนื้อหาที่เด็กต้องการ ประโยชน์ที่ได้ คือ ทำให้ครูรู้ทิศทางเนื้อหาว่าจะสอนอย่างไร สามารถตรวจสอบขอบเขตเนื้อหาได้และยังช่วยครูในการ วางแผนเนื้อหาและแจกกิจกรรมได้อย่างครอบคลุม (กุลยา ตันติผาชีวะ, 2543 : 26-27)

4. การบูรณาการตามแนวหลักสูตรที่กำหนด การบูรณาการประเภทนี้หมายถึงการที่หลักสูตรนั้นๆมีแนวของหลักสูตร ที่เน้นการสอนภาษาแบบ เน้นธรรมชาติ หลักสูตรที่เน้นการสอนแบบโครงการ เป็นต้น การบูรณาการตามแนวหลักสูตรนี้จะเป็นไปตามมโนทัศน์ของแนวคิดหรือทฤษฎีที่เป็น แนวของหลักสูตรนั้นๆ

 เทคนิค และวิทยาการจัดการเรียนรู้

1. ให้เรียนรู้จากการค้นคว้าในเรื่องที่ตนเองสนใจ จากแหล่งความรู้ต่างๆ

2. แสดงกระบวนการหาความรู้ที่ได้ค้นคว้า

3. นำเสนอในรูปแบบรายงานหรืออภิปราย

        การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

1.ขั้นศึกษาและวิเคราะห์

2. ขั้นวางแผน

3. ขั้นปฏิบัติ

                3.1 ผู้สอนให้คำแนะนำ

               3.2 ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ

               3.3 ผู้เรียนฝึกฝน

4. ขั้นประเมินปรับปรุง

 การนำอภิปราย

1. เป็นวิธีการถ่ายโอนความรู้ด้วยวิธีการพูด เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์การค้นคว้าต่อกัน

2. ครูคอยกระตุ้นให้ไปตามแนวทางที่กำหนด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

3. ใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นความคิด

        จุดประสงค์ของการอภิปราย

1. กระตุ้นให้เกิดความคิด

2. เกิดการมองหลายด้าน

3. เกิดการเปิดกว้างทางความคิด

         ประโยชน์ของการนำอภิปราย

1. ฝึกแลกเปลี่ยนประสบการณ์

2. ฝึกให้นักเรียนรู้จักวิเคราะห์

3. ฝึกหาเหตุผลด้วยการซักถาม

4. ฝึกคนให้รู้จักเหตุผล

 

        การใช้สื่อการเรียนการสอน

 การใช้สื่อการเรียนการสอนที่เตรียมไว้  ในระหว่างมีการเรียนการสอนจะต้องปฏิบัติดังนี้

1.นำเข้าสู่บทเรียนโดยการใช้สื่อเร้าความสนใจ 

2.ใช้สื่อการเรียนตามลำดับขั้นตอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน  โดยดำเนินการเป็นขั้นตอนที่ได้ทดลองใช้ก่อนการสอน

3. นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน  และมีส่วนร่วมในการใช้สื่อการเรียนการสอน  เช่น  การใช้แผ่นใสสรุปผลการอภิปรายในประเด็นปัญหาต่างๆ

         การประเมินผลการเรียนรู้

1.การประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้

2.การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

3.การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

4.การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนสื่อความ

5.การตัดสินการเรียนผ่านช่วงชั้น

 

 
Who's Online
เรามี 1 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
สถิติการเข้าชมเว็บ
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 260622
ชอบเรียนวิชาอะไรมากที่สุด
สำรวจความนิยม