Home เทคโนโลยีและนวัตกรรมฯ

มาตรฐานการเรียนรู้ที่ 8 เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา

เทคโนโลยีทางการศึกษา

                เทคโนโลยี การศึกษาเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์หรือใช้ร่วมกับกระบวนการ ทางจิตวิทยาและอื่นๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  การใช้เทคโนโลยีมิได้หมายความว่าจะมีประสิทธิภาพคงที่เสมอไป ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใดๆ ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเปลี่ยนแปลงสถานที่เปลี่ยนแปลงเวลาเปลี่ยนบุคคลที่ใช้และบุคคลที่ถูกนำไปใช้  เปลี่ยนแปลงสถานที่แวดล้อม  ก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้

                ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น  เทคโนโลยีนั้นก็จะยังคงใช้ต่อไปแต่เมื่อประสิทธิภาพลดลงเทคโนโลยีนั้นๆ จึงต้องมีการปรับปรุงจุดบกพร่องบางส่วน  หรือนำเอาวิธีการใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งวิธีการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่หรือวิธีการใหม่ที่นำมาใช้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)

 

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย

ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)

ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

 

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา มีอิทธิพลอย่างมากต่อวิธีการศึกษา พอจะสรุปได้ 4 ประการ คือ

1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) มุ่ง จัดการศึกษาตามความถนัด ความสนใจ และความสามารถของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนนวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น

                - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)

                - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)

                - เครื่องสอน (Teaching Machine)

                - การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)

                - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

                - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

2. ความพร้อม (Readiness) ใน ปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ ได้แก่

                - ศูนย์การเรียน (Learning Center)

                - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) 

                - การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)  

3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆแต่สอนบ่อยครั้ง นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น

                - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)

                - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)

                - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)

                การเรียนทางไปรษณีย์

4. ประสิทธิภาพในการเรียน การ ขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นทั้งในด้านปัจจัย เกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น              

                - มหาวิทยาลัยเปิด

                - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์

                - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป

                - ชุดการเรียน

 

เกณฑ์ในการพิจารณานวัตกรรม ประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการคือ

                1. เป็นวิธีการใหม่ทั้งหมดหรือเกิดจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการเดิม

                2. มีการนำเอาระบบ (System) พิจารณาองค์ประกอบของกระบวนการดำเนินการนั้น ๆ

                3. มีการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า ทำให้กระบวนการดำเนินงานนั้นๆ มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม

                4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบในปัจจุบัน กล่าวคือหากวิธีการนั้นๆ ได้รับการนำเอา ไปใช้อย่างกว้างขวางโดยทั่วไปแล้ว และวิธีการนั้นมีประสิทธิภาพก็จะถือว่าวิธีการนั้นๆ นับเป็นเทคโนโลยี

                นวัต กรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่ กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวคือ นวัตกรรม 5 ประเภท คือ

                                1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร

                                2. นวัตกรรมการเรียนการสอน

                                3. นวัตกรรมสื่อการสอน

                                4. นวัตกรรมการประเมินผล

                                5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ

 

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย

1.หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม

2.หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล

3.หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นกระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ

4.หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น

 

 
Who's Online
เรามี 2 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
สถิติการเข้าชมเว็บ
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 260578
ชอบเรียนวิชาอะไรมากที่สุด
สำรวจความนิยม