หลักการจัดชั้นเรียน  

จัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ และการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียน               
ให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา 
ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป


ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ
  
     
             
ทฤษฎี หมายถึง การกำหนดข้อสันนิษฐาน ซึ่งได้รับมาจากวิธีการทางตรรกวิทยา
วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ทำให้เกิดกฎเกณฑ์ที่ได้มาจากการสังเกต ค้นคว้าและการทดลอง
โดยใช้เหตุผลเป็นพื้นฐานเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจในความเป็นจริง และนำผลที่เกิดขึ้นนั้นมา
ใช้เป็นหลักเกณฑ์สำหรับทฤษฎีต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่การบริหารนั้นได้มีผู้คิดค้นมากมาย แต่พบว่า
ยังไม่มีทฤษฎีใดที่สามารถช่วยอธิบายปรากฏการณ์ในการบริหารงานได้หมด อาจจำเป็นต้องใช้
หลาย ๆ ทฤษฎีในการแก้ปัญหาหนึ่ง หรือทฤษฎีหนึ่งซึ่งมีหลักการดีและเป็นที่นิยมมากอาจไม่
สามารถแก้ปัญหาเล็กน้อย หรือปัญหาใหญ่ได้เลย ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละปัญหา
สภาพการณ์ของสังคมและกาลเวลาที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม คู๊นท์ (Koontz) ได้กล่าวไว้ว่า
ทฤษฎีหรือหลักในการบริหารงาน นั้นจะดีหรือมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้น ควรคำนึงถึงลักษณะของ
ทฤษฎีในเรื่องต่อไปนี้

 
1. การเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
2. การช่วยวิเคราะห์งานเพื่อปรับปรุงพัฒนา
3. การช่วยงานด้านวิจัยขององค์การให้ก้าวหน้า
4. ตรงกับความต้องการของสังคม
5. ทันสมัยกับโลกที่กำลังพัฒนา

ทฤษฎีที่ควรทราบ
1.ทฤษฎีวิเคราะห์ระบบ (System Approach หรือ General System Theory)
2.ทฤษฎีระบบสังคม (Social System Theory)
3.ทฤษฎีจูงใจในการปฏิบัติงานของมาสโลว์
4.ทฤษฎี X และ ทฤษฎี Y.