มาตรฐานที่ 4 จิตวิทยาสำหรับครู

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาพัฒนาการ

ขั้นพัฒนาการทางเพศของฟรอยด์ แบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ

1. ขั้นปาก (Oral Stage) (0-2 ปี ) 

2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) (2-3 ปี ) 

3. ขั้นความสนใจอวัยวะเพศ (Phallic Stage) (3-5 ปี ) 

4. ขั้นซ่อนเร้น (Latency Stage) (5-12 ปี ) 

5. ขั้นอวัยวะเพศปกติ (Genital Stage) 

 

 

ทฤษฎีพัฒนาการทางสังคมของแอดเลอร์มีหลักสำคัญ 4 ประการ คือ

1. การเข้าร่วมสังคมจะเริ่มมาจากครอบครัว

2.ความรู้สึกมีปมด้อยทั้งทางร่ายกายและสังคม  

3.วิถีทางปฏิบัติเพื่อลดปมด้อยและสร้างปมเด่นของตนขึ้นมา

4.เป้าหมายถึงจุดมุ่งหมายในชีวิตของแต่ละบุคคลจะยึดหลักของความพอใจของแต่ละคนเป็นสำคัญ

ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกของอิริกสัน มี 8 ขั้นตอน คือ

1.อายุแรกเกิด-1ขวบ เรียกว่า Trust vs. Mistrust

2.อายุ 1.5-3 ขวบ เรียกว่า Autonomy vs. Shame and Doubt

3.อายุ 3-5 ขวบ เรียกว่า Innitiative vs. Guilt

4.อายุ 6-12 ปี เรียกว่า Industry vs. Inferiority

5.อายุ 12-18 ปี เรียกว่า Identity vs. Role confusion

6.อายุ 18-21 ปี เรียกว่า Intimacy vs. Isolation

7.อายุ 22-40 ปี เรียกว่า Parental vs. Stagnation

8.อายุ 40 ปีขึ้นไป เรียกว่า Ego Integrity vs. Despair

 

ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเพียเจท์ มี4ขั้นตอน คือ

1.อายุแรกเกิด-2 ปี จะอาศัยปราสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวจากปฎิกิริยาสะท้อนมาเป็นเครื่องช่วย

2.อายุ 2-7 ปี เป็นขั้นก่อนมีความคิดร่วมยอด ระยะนี้เด็กจะมีพัฒนาการทางด้านภาษาและความคิดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

3.อายุ 7-11 ปี ขั้นการคิดหาเหตุผลโดยการใช้รูปธรรม

4.อายุ 11-15 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มคิดหาเหตุผลในลักษณะที่เป็นนามธรรมได้อย่างถูกต้อง

 

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ประกอบด้วย

1.ความต้องการทางด้านร่างกาย

2.ความต้องการด้านความปลอดภัย

3.ความต้องการด้านความเป็นเจ้าของ

4.ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ

5.ความต้องการที่จะบรรลุถึงความต้องการที่แท้จริงของตนเอง

ซึ่งความต้องการในแต่ละขั้นจะต้องได้รับการสนองก่อนจึงจะทำให้เกิดความต้องการในขั้นต่อไป

 

จิตวิทยาการศึกษา

จิตวิทยาการศึกษา เป็นวิชาที่ว่าด้วย

1.การเจริญงอกงามด้านต่างๆของบุคคล

2.การปรับตัว

3.การขยายและเสริมสร้างประสบการณ์

4.การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้

5.พัฒนาการ

 

ข้อจำกัดของจิตวิทยาการศึกษา

                วิ ลเลียม เจมส์ นักจิตวิทยาการรุ่นบรมครูของสหรัฐกล่าวว่า วิชาจิตวิทยาเป้นวิทยาศาสตร์ การสอนเป็นศิลปะ เมื่อเราจะนำจิตวิทยามาช่วยในการสอน ก็จะต้องใช้การพิจารณาอย่างรอบคอบและประสบการณ์เข้าช่วยอย่างมาก จะต้องนำเอาความรู้ทางจิตวิทยามาใช้ควบคู่กับการสอนให้เหมาะสม

 

จิตวิทยาการศึกษากับการสอน มีส่วนช่วยในเรื่องการสอนดังนี้ คือ

1.ทางด้านแนะแนวทาง (Directional aspect)

2.ทางด้านสร้างแรงจูงใจ (Motivation aspect)

3.ทางด้านสร้างทัศนคติ (Attitude aspect)

4.ทางด้านเทคนิค (Technique aspect)

 

จิตวิทยาการศึกษากับการปรับปรุงหลักสูตร

1.การปรับปรุงตำราเรียน

2.การปรับปรุงระดับความยากง่ายของวิชาให้เหมาะสมกับเด็ก

3.การส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมเอง ส่งเสริมให้เด็กได้ทำเอง

4.การจัดเวลาเรียนให้เหมาะสมกับวัยและความตั้งใจ

5.พิจารณาถึงสุขภาพและสวัสดิการของเด็กมากขึ้น

 

จิตวิทยาการศึกษากับการแนะแนว มีส่วนช่วยทางด้านแนะแนว ดังนี้

1.เข้าใจปัญหาด้านจิตใจและร่างกายของเด็ก

2.เข้าใจถึงวิธีการแนะแนว

3.ช่วยในการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล

 

จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา

จุดมุ่งหมายของการแนะแนว

1.เพื่อให้เด็กเข้าใจตนเอง สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

2.เพื่อช่วยให้เด็กแต่ละคนมีความสามารถในการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม

3.เพื่อช่วยให้เด็กมีความรู้และประสบการณ์อย่างกว้างขวาง

4.เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเด็กให้คณะครูเกิดความเข้าใจเด็กยิ่งขึ้น

5.เพื่อช่วยให้ผู้อำนวยการ อาจารย์ใหญ่ ผู้ปกครองเข้าใจเด็กดีขึ้น

6.เพื่อช่วยให้โรงเรียนมีข้อมูลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน

7.เพื่อช่วยป้องกันหรือลดปัญหาเกี่ยวกับความศูนย์เปล่าทางการศึกษาที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก

 

บริการแนะแนวที่ควรจัดในโรงเรียน

1.บริการรวบรวมข้อมูลนักเรียน

2.บริการสนเทศ

3.บริการให้คำปรึกษา

4.บริการจัดวางตัวบุคคล

5.บริการติดตามผลและประเมินผล

 

ประเภทของการแนะแนว

1.การแนะแนวการศึกษา ช่วยให้นักเรียนรู้จักเลือกสายวิชาและวิชาเรียน

2.การแนะแนวอาชีพ ช่วยบุคคลในการเตรียมตัวเลือกอาชีพ และปรับตัวให้เข้ากับงานเพื่อก่อให้เกิดความก้าวหน้าในอาชีพ

3.การแนะแนวส่วนตัวและสังคม ช่วยให้บุคคลรู้จักดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งกายและจิตใจ

 

ปรัชญาการแนะแนว

1.บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันทั้งทางร่างกาย  สังคม  อารมณ์  สติปัญญา  ความสนใจ ความสามารถ  ความถนัดและเจตคติ

2.บุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าและมีศักยภาพแฝงอยู่ในตน

3.พฤติกรรมทุกอย่างของบุคคลย่อมมีสาเหตุ

4.คนทุกคนมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคน

5.บุคคลทุกคนย่อมต้องการความช่วยเหลือไม่มากก็น้อย

6.บุคคลจะมีความสุขเมื่อมีโอกาสดีรับการศึกษาสูงตามกำลังสติปัญญาและความสามารถของเขา

 

บริการให้คำปรึกษาในโรงเรียน

                เป็น บริการที่ให้ความช่วยเหลือนักเรียนในการวางแผนทางการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพในอนาคต โดยการช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถตัดสินใจเลือกด้วยตนเองได้อย่างฉลาด เริ่มจากการเลือกวิชาที่จะเรียนอันจะเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่งานอาชีพที่ตน สนใจในอนาคต หรือที่จะนำไปสู่การเรียนในมหาวิทยาลัยต่อไป นอกจากนี้ยังช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาด้านส่วนตัวและสังคม โดยเฉพาะปัญหาในเด็กวัยรุ่น จะเห็นได้ว่า การแนะแนวและการให้คำปรึกษานี้ มีลักษณะคล้ายคลึงและใกล้เคียงกันอยู่มาก ซึ่งทั้งนี้ การให้คำปรึกษาก็เป็นหนึ่งในหลายบริการของการแนะแนวนั่นเอง และการให้คำปรึกษานี้ นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการแนะแนวทีเดียว