มาตรฐานที่ 5 การวัดและประเมินผลการศึกษา

การวัด (Measurement) หมายถึง การกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ให้กับบุคคล สิ่งของ เหตุการณ์หรือพฤติกรรมต่างๆตามที่เกณฑ์กำหนดไว้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การวัดทางกายภาพ และ การวัดทางสังคมศาสตร์

                การประเมิน (Evaluation) หมายถึง กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมีระบบ เพื่อนำผลมาใช้ในการวินิจฉัย ตัดสินในคุณค่าโดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด

                ข้อมูลที่รวบรวมเพื่อการประเมินแบ่งเป็น ข้อมูลเชิงคุณภาพ และ ข้อมูลเชิงปริมาณ

 

ประเภทของการประเมินผลการเรียน

1.การวัดอิงกลุ่ม เป็นการวัดที่ขึ้นอยู่กับเกณฑ์มาตรฐานสัมพันธ์หรือพฤติกรรมของกลุ่มเป็นสำคัญ มุ่งระบุหาความแตกต่างระหว่างผู้เรียน

2.การวัดอิงเกณฑ์ เป็นการวัดที่ขึ้นอยู่กับเกณฑ์มาตรฐานที่ให้คำนิยามไว้แน่ชัดล่วงหน้าเป็นสำคัญ

 

บลูมและคณะได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

1.การวัดและประเมินด้านพุทธพิสัย สามารถจำแนกย่อยได้ 6 ระดับพฤติกรรม ดังนี้

                1.1 ความรู้ความจำ Knowledge

                1.2 ความเข้าใจ Comprehension

                1.3 การนำไปใช้ Application

                1.4 การวิเคราะห์ Analysis

                1.5 การสังเคราะห์ Synthesis

                1.6 การประเมินค่า Evaluation

2.การวัดและประเมินด้านจิตพิสัย เป็นคุณลักษณะด้านจิตใจ ความรู้สึกที่บ่งบอกพฤติกรรมเกี่ยวกับเจตคติ ค่านิยมและคุณธรรมของบุคคล

3.การ วัดและประเมินด้านทักษะพิสัย เป็นพฤติกรรมความสามารถในการใช้กลไกทางร่างกายและการประสานงานของประสาท กล้ามเนื้อทีเกี่ยวข้องกับความสามารถในการกระทำการปฏิบัติของบุคคล

 

จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา

1.เพื่อพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน

2.เพื่อวินิจฉัย ค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนเพื่อหาทางช่วยเหลือ

3.เพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง

4.เพื่อประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง และยุติธรรม

5.เพื่อใช้ผลการวัดให้คุ้มค่าจุดประสงค์ของการวัด

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล

                1.การสังเกต Observation คือ การเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างใส่ใจและมีระเบียบวิธี เพื่อวิเคราะห์หรือหาความสัมพันธ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นกับสิ่งอื่น แบ่งเป็น การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม

                2.การสัมภาษณ์ Interview  คือ การสนทนาซักถามอย่างมีจุดมุ่งหมาย   เพื่อให้ได้ข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้องการ  ข้อมูลจากการสัมภาษณ์จะช่วยอธิบายสิ่งที่พบเห็นหรือสังเกตได้  แต่ยังไม่เข้าใจ  ให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น  การสัมภาษณ์จำเป็นต้องมีโครงสร้างของคำถาม  และสามารถควบคุมทิศทางโครงสร้าง  ของเนื้อหาให้เป็นเรื่องที่ต้องการทราบหรือปัญหาในการวิจัย  ศึกษาชุมชน  จุดสนใจของการสัมภาษณ์  คือ  การหาข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบหรือระบบความหมายที่เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์สังคมหนึ่งๆ  มีอยู่เป็นเรื่องเกี่ยวกับบรรทัดฐานทางสังคมซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับระบบวัฒนธรรมโดยตรง    

                3.แบบสอบถาม Questionnaire คือ รูป แบบของคำถามเป็นชุดๆ ที่ได้ถูกรวบรวมไว้อย่างมีหลักเกณฑ์และเป็นระบบ เพื่อใช้วัดสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการจะวัดจากกลุ่มตัวอย่างหรือประชากรเป้า หมายให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงทั้งในอดีต ปัจจุบันและการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต

                4.การจัดอันดับ Rank Order เป็นเครื่องมือมือวัดผลให้นักเรียน หรือผู้ได้รับแบบสอบถามเป็นผู้ตอบ โดยการจัดอันดับความสำคัญ หรือจัดอันดับคุณภาพ และใช้จัดอันดับของข้อมูลหรือผลงานต่าง ๆ ของนักเรียนแล้วจึงให้คะแนน ภายหลังเพื่อการประเมิน 

                5.การประเมินผลตามสภาพจริง Authentic Assessment คือ กระบวนการสังเกต การบันทึก และรวบรวมข้อมูลจากงานและวิธีการที่นักเรียนทำ การ ประเมิน ผลจากสภาพจริงจะเน้นให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหา เป็นผู้ค้นพบและผู้ผลิตความรู้ นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง รวมทั้งเน้นพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน            

                6.การวัดผลภาคปฏิบัติ Performance Assessment เป็นการวัดผลงานที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ ซึ่งสามารถวัดได้ทั้งกระบวนการและผลงาน ในสถานการณ์จริง หรือในสถานการณ์จำลอง

                7.การประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน Portfolios เป็น แนวทางการประเมินผลโดยการรวมข้อมูลที่ครูและผู้เรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน โดยกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดภาคเรียน ดังนั้นการวัดผลและประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงานส่วนหนึ่ง จะเป็นกิจกรรมที่สอดแทรกอยู่ใสภาพการเรียนประจำวัน โดยกิจกรรมที่สอดแทรกเหล่านี้จะวัด เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพชีวิตประจำวัน 

                8.แบบทดสอบ Test