Home การบริหารจัดการในชั้นเรียน

มาตรฐานที่ 6 การบริหารจัดการในชั้นเรียน

หลักการจัดชั้นเรียน คือ การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ และการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป


11.ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ
                ทฤษฎี หมายถึง การกำหนดข้อสันนิษฐาน ซึ่งได้รับมาจากวิธีการทางตรรกวิทยา วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ทำให้เกิดกฎเกณฑ์ที่ได้มาจากการสังเกต ค้นคว้าและการทดลอง โดยใช้เหตุผลเป็นพื้นฐานเพื่อก่อให้เกิดความ เข้าใจในความเป็นจริง และนำผลที่เกิดขึ้นนั้นมาใช้เป็นหลักเกณฑ์สำหรับทฤษฎีต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่การบริหารนั้น ได้มีผู้คิดค้นมากมาย แต่พบว่า ยังไม่มีทฤษฎีใดที่สามารถช่วยอธิบายปรากฏการณ์ในการบริหารงานได้หมด อาจจำเป็นต้องใช้หลาย ๆ ทฤษฎีในการแก้ปัญหาหนึ่ง หรือทฤษฎีหนึ่งซึ่งมีหลักการดีและเป็นที่นิยมมาก อาจไม่สามารถแก้ปัญหาเล็กน้อย หรือปัญหาใหญ่ได้เลย ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละปัญหา สภาพการณ์ของสังคม และกาลเวลาที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม คู๊นท์ (Koontz) ได้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีหรือหลักในการบริหารงานนั้นจะดีหรือมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้น ควรคำนึงถึงลักษณะของทฤษฎีในเรื่องต่อไปนี้
1. การเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
2. การช่วยวิเคราะห์งานเพื่อปรับปรุงพัฒนา
3. การช่วยงานด้านวิจัยขององค์การให้ก้าวหน้า
4. ตรงกับความต้องการของสังคม
5. ทันสมัยกับโลกที่กำลังพัฒนา

ทฤษฎีที่ควรทราบ
1.ทฤษฎีวิเคราะห์ระบบ (System Approach หรือ General System Theory)
2.ทฤษฎีระบบสังคม (Social System Theory)
3.ทฤษฎีจูงใจในการปฏิบัติงานของมาสโลว์
4.ทฤษฎี X และ ทฤษฎี Y

2.ภาวะผู้นำทางการศึกษา
                ภาวะ ผู้นำทางการศึกษามีรูปแบบที่แตกต่างไปจากภาวะผู้นำขององค์การอื่นๆ เพราะการบริหารการศึกษาเป็นรูปแบบการบริหารที่เกี่ยวข้องกับความชำนาญการและ ทักษะในการจัดการด้านการศึกษา นอกจากนี้ผู้นำทางการศึกษาจะต้องมีปรัชญาของการจัดการศึกษาที่ตอบสนองการ พัฒนาเยาวชนเพื่อสังคมและประเทศชาติ การจะนำองค์การทางการศึกษาไปสู่ความสำเร็จได้จึงต้องขึ้นอยู่กับแนวทางในการ บริหารจัดการเรียนการสอน ในวงการการศึกษาพบว่า รูปแบบภาวะผู้นำที่มีความหมายสำหรับการพัฒนาผู้เรียนและการจัดการเรียนการส อน ได้แก่
                1.รูปแบบภาวะผู้นำแบบร่วมแรงร่วมใจ (Collaborative leadership)
                2.รูปแบบภาวะผู้นำภาวะผู้นำนักบริการ  (Servant leadership) เป็นรูปแบบของผู้นำที่เน้นการให้การบริการผู้อื่น พนักงาน ลูกค้าและชุมชนเพื่อช่วยกันสร้างอำนาจการนำทางการศึกษา ผู้นำที่มีความเชื่อในเรื่องของการบริการนั้นต้องเกิดความรู้สึกที่เกิดขึ้น ภายในอย่างเป็นธรรมชาติที่นำไปสู่การให้บริการและต้องมีความเชื่อว่าการให้ บริการเป็นความสำคัญอันดับแรก
                3.รูปแบบภาวะผู้นำแบบหุ้นส่วน (Share holder leadership) เป็น รูปแบบการนำแบบเป็นหุ้นส่วนก็อาจเป็นทางเลือกหนึ่งเพราะการบริหารเช่นนี้ทำ ให้ทุกคนมีภาวะผู้นำที่เท่าเทียมกันฐานะหุ้นส่วนระหว่างผู้นำกับกลุ่มสมาชิก ด้วยความสัมพันธ์เชื่อมโยงในแนวทางที่ทำให้อำนาจระหว่างกันอยู่ในภาวะที่ สมดุลในการบริหารด้านการศึกษา
                4.ภาวะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic leadership) ความ สามารถของผู้นำที่มียุทธศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นในยุคที่การเรียนรู้เสมือนจริง ได้เกิดขึ้นในโลกของการศึกษา ผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่สามารถนำการเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จจึงเป็นสิ่งที่น่า สนใจ
                5.รูปแบบภาวะผู้นำแบบเพื่อนแท้ (KaLaYaNaMiTr; True good friend leadership) ใน วงการการศึกษานั้น การทำงานเป็นการสร้างคุณค่าเพื่อการพัฒนาคน ผลกำไร คือ การสร้างคนให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ทุกคนที่เกี่ยวข้องจึงมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การพัฒนาผู้เรียนให้ก้าวทันโลกในการทำงาน
                6.รูปแบบภาวะผู้นำแบบประสานให้พากันไป พระธรรมปิฎก (ประยุทธ ปยุตโต. 2540 หน้า 9-12) กล่าวว่า เป็นรูปแบบที่ใช้ความสัมพันธ์แบบประสานตัวระหว่างผู้นำและผู้ร่วมที่ไปด้วย


3.การคิดอย่างเป้นระบบ
                การ คิดอย่างเป็นระบบ เป็นการคิดแบบองค์รวม โดยตระหนักถึงองค์ประกอบย่อยที่มีความสัมพันธ์ และมีหน้าที่เชื่อมต่อกันอยู่เป็นปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง (อ้างถึงใน วีรวุธ มาฆะศิรานนท์และณัฐพงศ์ เกศมาริษ,2544)
ปัจจัยที่ส่งเสริมการคิดอย่างเป็นระบบ
                ปัจจัยที่ส่งเสริมการคิดอย่างเป็นระบบ
            1. การวิเคราะห์หาเหตุผลทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวด้วยคำถามว่าทำไม
            2. การลำดับเรื่องราวก่อนหลังมี (scenario)
            3. การแยกแยะความสำคัญของเรื่องราวในแต่ละเรื่อง ด้วยการเปรียบเทียบ
            4. การรู้จักแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน เป็นกระบวนการ
            5. พิจารณาดำเนินชีวิตด้วยการคิดและใช้เหตุผลตัดสินใจมากกว่าการใช้อารมณ์
            หาก นำการคิดอย่างเป็นระบบไปจัดการองค์กรทั้งองค์กรและองค์ประกอบแต่ละส่วน เพื่อให้บรรลุความสำเร็จขององค์กรต้องอาศัยการสังเคราะห์ความสอดคล้องไปใน แนวเดียวกันและต้องมีบูรณการ โดยการสังเคราะห์ในความหมายดังกล่าวคือการมองภาพทั้งองค์กรโดยใช้ความต้อง การขององค์กรเป็นจุดหมาย ส่วนความสอดคล้องหมายถึงการเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆให้ไปในทิศทางเดียวกัน และการบูรณาการหมายถึงการปฏิบัติให้เกิดความเชื่อมกันอย่างสมบูรณ์เพื่อที่ ผู้สอนจะทำความเข้าใจ การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ


ในการที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกันนั้นจะต้องเริ่มที่การพัฒนาการเรียนรู้ส่วนบุคคล (Individual Learning) ของบุคลากรในองค์การดังนี้
1.การ เรียนรู้ที่อยู่ในตัวของปัจเจกบุคคลที่มีเจตคติและค่านิยมในแต่ละคนย่อมแตก ต่างกัน และในการทำงานเป็นทีมในบางครั้งอาจเกิดปัญหาขึ้นได้
2. การ เรียนรู้วัฒนธรรมองค์การ ถือว่าเป็นการเรียนรู้ร่วมกันอย่างหนึ่ง ที่สังคมของการทำงานร่วมกันในองการได้กำหนดขึ้น โดยมีการพัฒนาแนวคิด ความเชื่อ ประเพณีปฏิบัติ เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์การ
1. จากเรื่องเล่า หรือประวัติศาสตร์ขององค์การ (Stories หรือ Histories) 
2. จากพิธีการ (Rituals) และพิธีกรรม (Ceremonies) 
3. สัญลักษณ์ต่าง ๆ (Material Symbols) 
4. ภาษาที่ใช้ (Language)


 5. มนุษย์สัมพันธ์ในองค์กร
                มนุษย สัมพันธ์เป็นเรื่องราวที่ว่าด้วยพฤติกรรมของคนที่มาเกี่ยวข้องกับการทำงาน ร่วมกับองค์การหรือหน่วยงานเพื่อให้การทำงานร่วมกันดำเนินไปด้วยความราบรื่น บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ลักษณะของกลุ่มทำงานที่มีความสัมพันธ์อันดี
1.      มี การทำงานร่วมกันแบบ ประชาธิปไตย                                                                                                                            
2.      มีการร่วมมือที่ดี
3.      ผู้มาร่วมกลุ่มทำงานมีลักษณะที่เอื้อต่อการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4.      มีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ
5.      มีการช่วยเหลือกันในขอบเขตที่เหมาะสม
6.      มีการติดต่อสื่อสารที่ดีในหน่วยงาน
7.      ผู้มาร่วมกลุ่มทำงานมีลักษณะที่เอื้อต่อการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
8.      การพัฒนาตนเพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน

แนวปฏิบัติที่สำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้อื่น เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกันมีดังนี้
1.       ให้ความสนใจเพื่อร่วม
2.       ยิ้มแย้ม
3.       แสดงการจำได้
4.       เป็นคู่สนทนาที่ดี
5.       รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
6.       แสดงการยอมรับนับถือผู้อื่นตามสถานภาพ
7.       แสดงความมีน้ำใจ ซึ่งการมีน้ำใจต่อผู้อื่น
8.       แสดงความชื่นชมยินดี

6.การติดต่อสื่อสารในองค์กร
            การ สื่อสารในองค์กร หมายถึง กระบวนการในการแลกเปลี่ยนข่าวสารของหน่วยงานกับบุคลากรทุกระดับภายในองค์กร ซึ่งมีความสัมพันธ์กันภายใต้สภาพแวดล้อม บรรยากาศขององค์กร และสังคม ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสถานการณ์

กระบวนการสื่อสารประกอบด้วย
1. แหล่งข้อมูล   คือ แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร หรือเป็นต้นตอของแหล่งข้อมูลข่าวสาร
                        -  ข่าวสาร
                        -  ผู้ส่ง
                        -  ผู้รับ
2. ประเภทของสื่อที่ใช้ในการสื่อสารในองค์กร                  
                        -  ประเภทการใช้ภาษา ได้แก่ การพูด คำพูด ซึ่งเป็นการสื่อสารที่ใช้กันมาก
                       -  ประเภทไม่ใช้ภาษา ได้แก่ สัญลักษณ์ การเขียนข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ  
                        -  ประเภทอาศัยการแสดง/พฤติกรรม
3. รูปแบบของการสื่อสาร  
                             -  การสื่อสารภายในตัวบุคคล
                             -  การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล
                             -  การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ แบบนี้ไม่มีให้เห็นมากนัก แต่ก็มีบางงานใช้
                             -  การสื่อสารภายในองค์กร
                             -  การสื่อสารมวลชน
4. ลักษณะการสื่อสารในองค์กร   
                - การสื่อสารระหว่างบุคคล   
                - การสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร   หมายถึง  
                - การสื่อสารระหว่างองค์กร   
5. จุดมุ่งหมายของการสื่อสารในองค์กร
                             -  เพื่อการควบคุมการปฏิบัติงานได้ดีขึ้น
                             -  เพื่อการให้ข้อมูลที่เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ
                             -  เพื่อการจูงใจและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจกันทำงานในองค์กร
                             -  เพื่อการแสดงออกซึ่งความรู้สึกต่าง ๆ เพื่อให้หัวหน้าหรือพนักงานมีความเข้าใจกัน
6. เทคนิคการสื่อสารในองค์กร  
                1. การสื่อสารจากบนลงล่าง (Downward Communication)
2. การสื่อสารจากล่างขึ้นบน (Upward Communication)
3. การสื่อสารในแนวนอน (Lateral Communication / Horizontal Communication)
4. การสื่อสารในแนวทแยง (Diagonal Communication) ปฏิบัติงานด้านต่าง ๆการรณรงค์โดยจัดกิจกรรมเสริมต่าง ๆ เช่น การจัดการประกวดคำขวัญ และโลโก้ของหน่วยงาน
7. รูปแบบของเครือข่ายการติดต่อสื่อสาร  
             -   แบบลูกโซ่ (Chain) เป็นเครือข่ายที่พบความผิดพลาดอยู่เสมอ
             -   แบบวงล้อหรือดาว (Wheel or Star) เป็นเครือข่ายของการประสานงานแบบเผด็จการ
              -   แบบวงกลม (Circle) เป็นการติดต่อข่าวสารกันแบบต่อเนื่องกัน ซึ่งให้ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาได้ต่ำ
             -  แบบว่าว (Kite) เป็นการติดต่อที่ผสมผสานกันทั้งแบบลูกโซ่และแบบวงล้อ
             -  แบบทุกช่องทาง (All Channel) เป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่มีการประสารกันได้ทุกจุด ทำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ระดับการสื่อสารในองค์กร
การสื่อสารในองค์กรมักมีการไหลเวียนของข่าวสารใน 3 ลักษณะคือ
1. การสื่อสารจากผู้บังคับบัญชาไปยังบุคลากรระดับต่างๆ หรือที่เรียกว่าการสื่อสารในแนวดิ่ง(Downward communication) 
2. การสื่อสารจากบุคลากรระดับต่างๆไปยังผู้บังคับบัญชา หรือที่เรียกว่าการสื่อสารในแนวตั้ง (Upward communication) 
3. การ สื่อสารในแนวนอน เป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้นระหว่างบุคลากรในระดับเดียวกัน มักเรียกกันว่าการสื่อสารแบบคู่ขนานหรือการสื่อสารในระดับเดียวกัน(Lateral communication)
 
Who's Online
เรามี 10 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
สถิติการเข้าชมเว็บ
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 240034
ชอบเรียนวิชาอะไรมากที่สุด
สำรวจความนิยม